Logo

    ASEAN บ่มีไกด์

    เมื่อ 'อาเซียน' ไม่ได้มีแค่ชุดประจำชาติ อาหารประจำชาติ คำทักทาย 10 ชาติ หรืออาเซียนซัมมิท 'ASEAN บ่มีไกด์' จะพาคุณออกจากอาเซียนแบบเดิมๆ ไปรู้จักอาเซียนในมุมใหม่ๆ ที่คุณไม่เคยเห็น สนุก ลึก และลับ แบบที่ไกด์สำนักไหนไม่เคยพาไปมาก่อน! . ดำเนินรายการโดย เบน - วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา ออกอากาศ: ทุกวันพุธ สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน
    th28 Episodes

    People also ask

    What is the main theme of the podcast?
    Who are some of the popular guests the podcast?
    Were there any controversial topics discussed in the podcast?
    Were any current trending topics addressed in the podcast?
    What popular books were mentioned in the podcast?

    Episodes (28)

    EP.28: 10 ปี 'โจโกวี' ทำไมคะแนนนิยมดี แทบไม่มีตก? กับ อรอนงค์ ทิพย์พิมล

    EP.28: 10 ปี 'โจโกวี' ทำไมคะแนนนิยมดี แทบไม่มีตก? กับ อรอนงค์ ทิพย์พิมล

    เข้าสู่ปีสุดท้ายของโจโก วิโดโด (Joko Widodo) หรือ โจโกวี (Jokowi) ในตำแหน่งประธานาธิบดีของอินโดนีเซียก่อนจะมีการเลือกตั้งผู้นำคนใหม่มาแทนเขาในปีนี้ แต่ดูเหมือนว่าแม้เขาจะครองอำนาจมาแล้วติดกันยาวนานถึง 10 ปี คะแนนนิยมก็ลอยอยู่ที่ 70-80% อย่างแทบไม่เคยมีตก 
    .

    อะไรที่ทำให้คนอินโดนีเซียยังชื่นชอบประธานาธิบดีโจโกวีอย่างไม่เสื่อมคลายกระทั่งปีสุดท้ายของการดำรงตำแหน่ง และนอกจากเสียงชื่นชมแล้ว โจโกวีต้องเผชิญข้อครหาวิพากษ์วิจารณ์อะไรบ้าง? ASEAN บ่มีไกด์ พาไปย้อนมองตัวตนและผลงานของชายชื่อโจโกวีตลอดทศวรรษที่ผ่านมา จากมุมมองของ อรอนงค์ ทิพย์พิมล อาจารย์ประจำสาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    EP.27: หนุ่มค้าบริการไทใหญ่ ชีวิตจริงที่ยิ่งกว่าหนัง ‘ดอยบอย’ กับ อัมพร จิรัฐติกร

    EP.27: หนุ่มค้าบริการไทใหญ่ ชีวิตจริงที่ยิ่งกว่าหนัง ‘ดอยบอย’ กับ อัมพร จิรัฐติกร

    ‘ศร’ หนุ่มชาวไทใหญ่ที่หนีทหารจากกองทัพรัฐฉานเข้ามาในไทยอย่างผิดกฎหมาย ก่อนเข้าทำงานค้าบริการทางเพศในบาร์เกย์ที่จังหวัดเชียงใหม่ คือตัวละครที่กำลังเป็นที่พูดถึงจากผู้ชมภาพยนตร์ ‘ดอยบอย’ (Doi Boy)
    .

    แต่เรื่องราวของศรไม่ได้เป็นแค่จินตนาการของผู้สร้างภาพยนตร์เสียทีเดียว เพราะมันอิงจากเค้าโครงชีวิตจริงของผู้ชายชาวไทใหญ่หลายคนที่ลงเอยต้องเข้าสู่แวดวงค้าบริการทางเพศในประเทศไทย
    .

    ชีวิตของคนกลุ่มนี้เป็นอย่างไร มีอะไรที่หนังยังไม่ได้เล่าถึง? ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้ ชวน อัมพร จิรัฐติกร รองศาสตราจารย์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้มีผลงานศึกษาวิจัยชีวิตของหนุ่มค้าบริการทางเพศชาวไทใหญ่ในประเทศไทย มาเล่าเรื่องนี้ให้ฟังแบบเจาะลึก
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา
    .

    สามารถอ่านงานวิจัยของอาจารย์แบบเต็มได้ที่
    .

    Masculinity for Sale: Shan Migrant Sex Worker Men in Thailand and Questions of Identity
    https://journals.sagepub.com/doi/abs/10.1177/1097184X221119793
    .

    Shan Male Migrants’ Engagement with Sex Work in Chiang Mai, Thailand, Pre- and Post-Pandemic
    https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/14672715.2023.2221679

    EP.26: ท่องเที่ยวเวียดนามจะแซงไทย จริงหรอ? กับ มรกตวงศ์ ภูมิพลับ

    EP.26: ท่องเที่ยวเวียดนามจะแซงไทย จริงหรอ? กับ มรกตวงศ์ ภูมิพลับ

    "ท่องเที่ยวเวียดนามกำลังจะแซงไทย!" กลายเป็นข้อความไวรัลบนโซเชียลมีเดียของไทยช่วงเดือนที่ผ่านมา หลังพบข้อมูลว่าการท่องเที่ยวของเวียดนามเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงของภูมิภาค และกำลังแย่งนักท่องเที่ยวไปจากประเทศไทย!?
    .

    การท่องเที่ยวของเวียดนามจะแซงไทยได้จริงไหม และทำไมอยู่ๆ เวียดนามถึงเนื้อหอมสำหรับนักท่องเที่ยวขึ้นมา? ASEAN บ่มีไกด์ ชวน มรกตวงศ์ ภูมิพลับ อาจารย์คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาคุยกันในเรื่องนี้
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    EP.25: ‘อิสราเอล-ปาเลสไตน์’ – กระแสเกลียดยิว ถึงยิวแห่งบูรพาทิศ ในอาเซียน

    EP.25: ‘อิสราเอล-ปาเลสไตน์’ – กระแสเกลียดยิว ถึงยิวแห่งบูรพาทิศ ในอาเซียน

    การสู้รบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มฮามาสในฝั่งปาเลสไตน์ที่เพิ่งปะทุขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้ชาติอาเซียนเกิดปฏิกริยาหลากหลาย โดยมีกลุ่มหนึ่ง ได้แก่ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และบรูไน ที่แสดงตัวยืนเคียงข้างปาเลสไตน์อย่างชัดเจน
    .

    ไม่ใช่แค่ในเหตุการณ์นี้เท่านั้น แต่ชาติอาเซียนเหล่านี้ยืนฝั่งตรงข้ามอิสราเอลมาโดยตลอด ไม่ว่าจะในระดับรัฐหรือระดับประชาชน และสำหรับประชาชนจำนวนไม่น้อย การต่อต้านอิสราเอลนี้ยังพัฒนาไปเป็นกระแสต่อต้านคนยิว
    .

    อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกต่อต้านคนยิวในกลุ่มชาติเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากประเด็นความขัดแย้งในอิสราเอลเท่านั้น แต่ยังมีรากความเป็นมาจากประวัติศาสตร์ยุคอาณานิคม ที่ค่อยๆ บ่มเพาะความเกลียดชังยิว จนลุกลามไปสู่ความเกลียดชังคนจีน ผู้ถูกเรียกว่า ‘ยิวแห่งบูรพาทิศ’ อีกด้วย
    .

    ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้ ชวยคุยถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของกระแสต่อต้านยิวและยิวแห่งบูรพาทิศในชาติอาเซียน นับตั้งแต่ยุคอาณานิคม จนถึงยุคแห่งความขัดแย้งระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ในปัจจุบัน
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    EP.24: ท่องแดนสวรรค์นักพนัน สำรวจคาสิโนชายแดนไทย กับ ณัฐกร วิทิตานนท์

    EP.24: ท่องแดนสวรรค์นักพนัน สำรวจคาสิโนชายแดนไทย กับ ณัฐกร วิทิตานนท์

    ตามแนวชายแดนไทยมีสวรรค์สำหรับนักเสี่ยงโชคอย่าง ‘คาสิโน’ ตั้งอยู่แทบตลอดทาง ไม่ว่าจะที่ปอยเปต ประเทศกัมพูชา, เมียวดี และท่าขี้เหล็ก ในประเทศพม่า, สะหวันนะเขต สปป.ลาว หรือโซนสามเหลี่ยมทองคำ และอีกมากมายหลายแห่ง
    .
    คาสิโนเหล่านี้เติบโตขึ้นมาได้อย่างไร มีพัฒนาการอย่างไร นักพนันเป็นคนกลุ่มไหน และข้างในนั้นมีอะไรบ้าง ASEAN บ่มีไกด์ตอนนี้ชวน ณัฐกร วิทิตานนท์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เคยไปเยี่ยมเยือนและศึกษาคาสิโนชายแดนมาแล้วหลายแห่ง มาเล่าเรื่องราวให้ฟัง
    .
    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เท 

    EP.23: เผด็จการหรือวีรบุรุษ? ‘ฮุน เซน’ แบบไหนที่กัมพูชาจดจำ

    EP.23: เผด็จการหรือวีรบุรุษ? ‘ฮุน เซน’ แบบไหนที่กัมพูชาจดจำ

    เมื่อวานนี้ (22 ส.ค. 2023) ขณะที่ไทยได้นายกฯ คนใหม่ ที่กัมพูชาก็มีการส่งผ่านเก้าอี้ผู้นำจาก ฮุน เซน สู่ลูกชายคนโต ฮุน มาเนต อย่างสมบูรณ์ ปิดฉากการครองตำแหน่งผู้นำของฮุน เซน ที่ต่อเนื่องยาวนานถึง 38 ปี
    .
    การที่ฮุน เซนอยู่ในอำนาจได้ยาวนานขนาดนี้ หลายคนอาจมองว่าเป็นเพราะเขาคือเผด็จการที่ทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาอำนาจ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะคนกัมพูชาที่รักและเทิดทูนเขามีอยู่มากมาย
    .
    ตลอดเวลาเกือบ 4 ทศวรรษที่ผ่านมา ฮุน เซน ถูกมองแบบไหนกันแน่ในสายตาคนกัมพูชา คนที่รักเขา รักเพราะอะไร และคนที่เกลียดเขา เกลียดเพราะอะไร ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้ชวนไปรู้จักชายที่ชื่อฮุน เซน และมรดกที่เขาทิ้งไว้ให้กับกัมพูชา
    .
    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    #ฮุนเซน #ฮุนมาเนต #การเมืองกัมพูชา

    Ep.22: หนัง-ละครไทยแนวไหน โดนใจเพื่อนบ้านอาเซียน? กับ เจษฎา ศาลาทอง

    Ep.22: หนัง-ละครไทยแนวไหน โดนใจเพื่อนบ้านอาเซียน? กับ เจษฎา ศาลาทอง

    หลายปีมานี้ กระแสของภาพยนตร์และละครไทยจัดว่ามาแรงในกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน แต่เมื่อไล่ดูแต่ละประเทศ แนวของหนังและละครที่ผู้คนชอบก็มีความแตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุผลทางค่านิยมและโครงสร้างของสังคมที่แตกต่างกัน
    .
    แต่ละประเทศอาเซียนชื่นชอบหนังและละครไทยแนวไหนกันบ้าง? มาหาคำตอบกับแขกรับเชิญพิเศษ เจษฎา ศาลาทอง อาจารย์ประจำภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
    .
    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    Ep.21: LGBTQ+ คือใคร ในหลักสูตรการศึกษาอาเซียน?

    Ep.21: LGBTQ+ คือใคร ในหลักสูตรการศึกษาอาเซียน?

    สิบประเทศอาเซียนล้วนมีมุมมองต่อกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศหรือ LGBTQ+ ที่แตกต่างกัน บ้างปิดกั้น บ้างเริ่มยอมรับ บ้างก็ยังคลุมเครือ แต่ถามว่าแล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าประเทศไหนคิดอย่างไรต่อความหลากหลายทางเพศ สิ่งหนึ่งที่จะบ่งบอกได้อย่างดีก็คือหลักสูตรการศึกษาของแต่ละประเทศพูดถึงเรื่องนี้กันแบบไหน?
    .

    ในเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ (Pride Month) ASEAN บ่มีไกด์ ชวนสำรวจว่าหลักสูตรการศึกษาในแต่ละประเทศอาเซียนมองความหลากหลายทางเพศกันอย่างไร
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    Ep.20: เปิดคลาส 'ติมอร์ตะวันออก 101' กับ กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์

    Ep.20: เปิดคลาส 'ติมอร์ตะวันออก 101' กับ กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์

    การประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนที่อินโดนีเซียเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ต้อนรับผู้นำจาก ‘ติมอร์ตะวันออก’ หรือ ‘ติมอร์เลสเต’ ที่มาร่วมประชุมในฐานะผู้สังเกตการณ์เป็นครั้งแรก หลังจากที่ประเทศกลุ่มอาเซียนลงมติอนุมัติในหลักการ รับติมอร์ตะวันออกเป็นสมาชิกใหม่ เมื่อปลายปีที่แล้ว
    .

    ถ้าไม่มีอะไรติดขัด ติมอร์ตะวันออกจะกลายเป็นสมาชิกน้องใหม่ของอาเซียนอย่างเต็มตัวในอนาคตอันใกล้ ASEAN บ่มีไกด์ตอนนี้เลยเปิดคลาส ‘ติมอร์ตะวันออก 101’ ชวนทำความรู้จักว่าที่ประเทศสมาชิกลำดับที่ 11 ของอาเซียน ว่ามีประวัติศาสตร์ความเป็นมาอย่างไร มีอะไรน่าสนใจ มีตรงไหนน่าเที่ยว และอีกนานแค่ไหนกว่าจะได้เป็นสมาชิกเต็มตัว กับแขกรับเชิญพิเศษ กฤษฎ์เลิศ สัมพันธารักษ์
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    Ep.19: ปิดตำนาน 'ลิตเติลไทยแลนด์' ในสิงคโปร์ กับ สุเจน กรรพฤทธิ์

    Ep.19: ปิดตำนาน 'ลิตเติลไทยแลนด์' ในสิงคโปร์ กับ สุเจน กรรพฤทธิ์

    'โกลเดนไมล์คอมเพล็กซ์ ' (Golden Mile Complex) หากเป็นคนไทยที่ใช้ชีวิตในสิงคโปร์ คงมีน้อยคนนักที่จะไม่รู้จักสถานที่แห่งนี้ที่บอกได้ว่าเป็นทุกอย่างให้คนไทย ทั้งเป็นแหล่งจับจ่ายซื้อสินค้าไทยตั้งแต่สากกะเบือยันเรือรบ แหล่งรวมร้านอาหารไทยที่มียันอาหารพื้นถิ่น และยังเป็นแหล่งพบปะสังสรรค์ของพี่น้องแรงงานไทยหลังเหน็ดเหนื่อยจากการทำงาน จนใครๆ ก็ให้ชื่อเล่นที่นี่ว่า 'ลิตเติลไทยแลนด์'

    แต่เดือนพฤษภาคมนี้ ลิตเติลไทยแลนด์ที่เป็นเหมือนบ้านหลังที่สองของคนไทยในสิงคโปร์มายาวนานเกือบ 50 ปี กำลังจะกลายเป็นอดีต เมื่ออาคารถูกปิดดีลขายต่อให้เจ้าของรายใหม่ บีบให้ร้านค้าต้องปิดตัวแยกย้ายกันออกไปในที่สุด

    ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้ ชวนสำรวจอาคารโกลเด้นไมล์คอมเพล็กซ์ พาย้อนตำนานตั้งแต่เริ่มต้น พัฒนาขึ้นเป็นลิตเติลไทยแลนด์ ไปถึงจนถึงวาระสุดท้ายก่อนหมดลมหายใจ พร้อมชวนคุยถึงอนาคตชุมชนคนไทยในสิงคโปร์หลังต้องลาจากพื้นที่อันเป็นศูนย์รวมใจนี้

    ร่วมพูดคุยกับแขกรับเชิญคนแรกของรายการ สุเจน กรรพฤทธิ์ และยังพบกันเช่นเคยกับ เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    Ep.18: มิเชล โหย่ว ชิงออสการ์...รัฐบาลมาเลเซียเคลมได้มั้ย?

    Ep.18: มิเชล โหย่ว ชิงออสการ์...รัฐบาลมาเลเซียเคลมได้มั้ย?

    “เธอคือความภาคภูมิใจของชาวมาเลเซีย” คือประโยคที่คนมาเลเซียพากันยกย่อง มิเชล โหย่ว (Michelle Yeoh) หลังปรากฏชื่อเธอเป็นชาวมาเลเซียคนแรกในประวัติศาสตร์ที่เข้าชิงรางวัลออสการ์สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากเรื่อง Everything Everywhere All at Once ที่จะประกาศผล 12 มีนาคมนี้
    .

    ก่อนจะเข้าชิงออสการ์ มิเชล โหย่ว ยังกวาดรางวัลใหญ่มาแล้วหลายเวที จนเป็นที่ปรื้มปริ่มของชาวมาเลเซีย เช่นเดียวกับผู้นำ ประมุข และบรรดาหน่วยงานรัฐ ที่ต่างก็ส่งข้อความแสดงความยินดี พร้อมยกย่องเธอว่าคือผู้นำพามาเลเซียไปเฉิดฉายบนเวทีโลก
    .

    แต่ท่ามกลางเสียงยินดี คำถามก็ดังขึ้นมาจากคนมาเลเซียบางส่วนว่า ความสำเร็จของเธอใช่ความสำเร็จของมาเลเซียหรือไม่ รัฐบาลมาเลเซียเอาเธอมาเคลมได้หรือ ในเมื่อเธอเติบโตจากวงการหนังฮ่องกงและฮอลลีวูดล้วนๆ โดยไม่เคยผ่านมือแวดวงหนังมาเลเซียเลย
    .

    ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้ ชวนคุยกันว่า คนมาเลเซีย โดยเฉพาะคนในแวดวงหนัง คิดเรื่องนี้ยังไง แล้วทำไมวงการภาพยนตร์มาเลเซียเองถึงแทบปั้นคนให้ไปไกลระดับโลกด้วยตัวเองไม่ได้
    .

    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา
    .

    (ภาพประกอบ: Frederic J. Brown / AFP)

    Ep.17: บอลอาเซียน ทำไมไปไม่ถึงบอลโลก?

    Ep.17: บอลอาเซียน ทำไมไปไม่ถึงบอลโลก?
    “บอลไทยจะไปบอลโลก” เราคนไทยได้ยินประโยคนี้กันมานาน แต่ปีแล้วปีเล่า ประโยคนี้ก็ยังไม่เคยเป็นจริง . ไม่ต่างจากชาติอื่นๆ ในอาเซียน ที่คำถามดังขึ้นมาเสมอว่าเมื่อไหร่เราจะได้ใส่เสื้อทีมชาติ นั่งเชียร์ทีมฟุตบอลชาติตัวเอง บนสนามแข่งขันฟุตบอลโลกสักที . หลังจากที่ดัตช์อีสต์อินดีส (Dutch East Indies, อินโดนีเซียในปัจจุบัน) เคยไปถึงฟุตบอลโลกได้ในปี 1938 แต่ทำไมถึงไม่เคยมีชาติอาเซียนไหนเข้าสู่รอบสุดท้ายฟุตบอลโลกได้อีกเลย? แล้วชาติอาเซียนจะยังพอมีหวังหรือเปล่า? ASEAN บ่มีไกด์ชวนมาคุยกันในเรื่องนี้ . ดำเนินรายการโดย วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    EP.16: เลือกตั้งมาเลเซีย 2022 – ถึงเวลาคนรุ่นใหม่คุมเกม?

    EP.16: เลือกตั้งมาเลเซีย 2022 – ถึงเวลาคนรุ่นใหม่คุมเกม?
    อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อ ‘คนรุ่นใหม่’ พลิกขึ้นมาเป็นเสียงส่วนใหญ่ในการเลือกตั้ง? . เหตุการณ์นี้กำลังจะเกิดขึ้นที่มาเลเซีย ที่กำลังจะมีการเลือกตั้งใหญ่ในวันเสาร์ที่ 19 พฤศจิกายนนี้ โดยจะมีสัดส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นคนรุ่นใหม่ถึง 55% พุ่งขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งก่อนหน้าในปี 2018 ที่มีสัดส่วน 41% ด้วยผลพวงจากการแก้กฎหมายลดอายุผู้มีสิทธิเลือกตั้งจาก 21 ปี เหลือ 18 ปี เมื่อปลายปี 2021 . เมื่ออนาคตการเมืองของประเทศตกอยู่ในปลายปากกาของคนรุ่นใหม่ ผู้คนจึงต่างเฝ้าจับตาว่าคนกลุ่มนี้จะเลือกใคร และอยากจะพาประเทศมาเลเซียไปทางไหน . แต่หนุ่มสาวมาเลเซียรุ่นใหม่จะเป็นผู้คุมเกมการเลือกตั้งครั้งนี้จริงหรือไม่ เมื่อพบว่าหลายคนไม่ได้สนใจ-ไม่เข้าใจการเมือง และอาจไม่ได้ตื่นตัวที่จะไปใช้สิทธิเลือกตั้งมากอย่างที่คิด . ASEAN บ่มีไกด์ พาไปดูความคิดคนรุ่นใหม่มาเลเซียก่อนถึงการเลือกตั้งที่กำลังจะมีขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้านี้ . ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    Ep.15: รีวิวจัดเต็มรถไฟลาว-เว่าเรื่องเงินเฟ้อกับชาวบ้าน

    Ep.15: รีวิวจัดเต็มรถไฟลาว-เว่าเรื่องเงินเฟ้อกับชาวบ้าน
    หลังจากที่หลายประเทศเริ่มทยอยกลับมาเปิดพรมแดน ‘ลาว’ ก็กลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดฮิตสำหรับบรรดานักท่องเที่ยว ด้วยจุดขายใหม่คือ ‘รถไฟหัวกระสุน’ ที่ดึงดูดให้ใครหลายคนอยากไปลองเปิดประสบการณ์รูปแบบใหม่ในการเที่ยวลาว . การเดินทางบนรถไฟลาวเป็นอย่างไร สะดวกสบายไหม รวดเร็วขนาดไหน เจอปัญหาอะไรบ้าง ASEAN บ่มีไกด์ตอนนี้ขอรีวิวประสบการณ์นั่งรถไฟลาวครั้งแรกแบบจัดหนักจัดเต็ม พร้อมพาไปคุยกับคนลาวว่าพวกเขามีชีวิตความเป็นอยู่และปากท้องอย่างไรในภาวะที่เงินเฟ้อพุ่งสูง 20-30 เปอร์เซ็นต์ . ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    Ep.14: เพศสัมพันธ์ชาย-ชายจะไม่ผิดอีกต่อไป! ชัยชนะของ LGBT สิงคโปร์..จริงหรอ?

    Ep.14: เพศสัมพันธ์ชาย-ชายจะไม่ผิดอีกต่อไป! ชัยชนะของ LGBT สิงคโปร์..จริงหรอ?
    "รัฐบาลจะยกเลิกกฎหมายอาญามาตรา 377A ซึ่งจะทำให้การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชาย-ชาย ไม่เป็นอาชญากรรมอีกต่อไป..." . ทันทีที่สิ้นสุดประโยคในการแถลงของนายกฯ ลี เซียนลุง เสียงไชโยโห่ร้องของกลุ่มคนรักร่วมเพศก็ดังสนั่นทั่วทั้งเกาะสิงคโปร์ หลังจากที่พวกเขาร่วมกันต่อสู้มานานเพื่อให้กฎหมายข้อนี้ที่มีมากว่า 80 ปี ถูกยกเลิก . ASEAN บ่มีไกด์ตอนนี้ พาไปดูเส้นทางการต่อสู้ของกลุ่มคนรักร่วมเพศในสิงคโปร์เพื่อเรียกร้องให้ยกเลิกกฎหมายมาตรา 377A จนมาถึงวันที่รัฐบาลสิงคโปร์ประกาศให้คำมั่นสัญญาจะยกเลิก และไปดูกันว่าอนาคตของสิทธิคนรักร่วมเพศของสิงคโปร์หลังจากนี้จะเป็นอย่างไร สดใสหรือท้าทายกว่าเดิม? . ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    Ep.13: นรกบนดินของนักโทษการเมืองพม่า หลังลูกกรงคุกอินเส่ง

    Ep.13: นรกบนดินของนักโทษการเมืองพม่า หลังลูกกรงคุกอินเส่ง
    ‘นรก’ ไม่ได้มีแค่ในโลกหลังความตาย แต่กระจัดกระจายอยู่ในหลายซอกหลืบของโลกมนุษย์ใบนี้ หนึ่งในนั้นคือนรกในอาคารทรงกลมสีแดงขนาดใหญ่ ทางชานเมืองตอนเหนือของนครย่างกุ้ง ประเทศพม่า ที่มีนามว่า ‘คุกอินเส่ง’ . คุกอินเส่งอยู่คู่ประวัติศาสตร์การเมืองพม่ามายาวนานเกินกว่า 130 ปี คือสถานที่ที่ผู้มีอำนาจทุกยุคสมัย โดยเฉพาะกองทัพพม่า ใช้คุมขังปราบปรามผู้เป็นปฏิปักษ์ทางการเมือง รวมทั้งในช่วงเวลาปัจจุบัน หลังเกิดรัฐประหาร 1 กุมภาพันธ์ 2021 ที่คนถูกจับเข้าไปแออัดคุกนรกแห่งนี้เกินกว่าหมื่นคน . ไม่ต่างจากทุกยุคสมัยที่ผ่านมา คนพม่าที่ชีวิตพลิกผันกลายเป็นนักโทษการเมืองในคุกแห่งนี้หลังรัฐประหารครั้งล่าสุด กำลังเผชิญความทุกข์ทรมานสาหัส ทั้งจากความแออัด สุขอนามัยที่ย่ำแย่ กระทั่งการถูกซ้อมทรมาน และจำนวนไม่น้อยต้องจบชีวิตลงในคุกแห่งนี้ด้วยสาเหตุต่างๆ นาๆ รวมทั้งการถูกตัดสินประหารชีวิต ดังเช่นที่ 4 นักโทษการเมืองต้องเผชิญ เมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา . ASEAN บ่มีไกด์ตอนนี้ พาทุกท่านไปดูเรื่องราวชีวิตดั่ง ‘นรกบนดิน’ ของบรรดานักโทษการเมืองพม่าที่ถูกจับกุมหลังรัฐประหาร 2021 หลังลูกกรงเรือนจำอินเส่ง . ดำเนินรายการโดย เบน-วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา .................. ชมพิพิธภัณฑ์สมาคมช่วยเหลือนักโทษการเมือง (AAPP Museum) แบบเสมือนจริงได้ที่ https://aappmuseum.wixsite.com/museum . ชมภาพสเก๊ตซ์ชีวิตนักโทษในเรือนจำอินเส่งหลังรัฐประหาร 2021 และอ่านบทความได้ที่ https://www.reuters.com/world/asia-pacific/smuggled-sketches-offer-glimpses-into-harsh-myanmar-prison-2022-04-07/

    Ep.12: สมรส(ยังไม่)เท่าเทียมในอาเซียน...ห่างเพียงเอื้อมมือ แต่คือแสนไกล!

    Ep.12: สมรส(ยังไม่)เท่าเทียมในอาเซียน...ห่างเพียงเอื้อมมือ แต่คือแสนไกล!

    เสียงเฮดังลั่นในประเทศไทย เมื่อร่าง พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียม ผ่านสภาในวาระแรก ท่ามกลางเดือนแห่งการเฉลิมฉลองความหลากหลายทางเพศ (Pride Month) เมื่อ 15 มิถุนายนที่ผ่านมา แต่นี่ก็เป็นแค่วาระแรกเท่านั้น หนทางยังอีกยาวไกล และเต็มไปด้วยอุปสรรคมากมาย ความหวังที่จะเป็นชาติแรกในอาเซียนที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมจึงไม่ใช่เรื่องง่ายอย่างที่คิด
    .

    แต่ที่จริงแล้ว ไทยไม่ใช่ชาติแรกในอาเซียนที่ต่อสู้ผลักดันสิทธิสมรสเท่าเทียม เพราะมีประเทศอื่นที่พยายามต่อสู้มาก่อนหรือพร้อมๆ กับเรา คือเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา
    .
    แม้ความฝันจะขยับเข้ามาใกล้อยู่รอมร่อ แต่ประเทศเหล่านี้ก็ไม่เคยไปถึงสิทธิสมรสเท่าเทียมได้จริงเสียที ทำไมถึงเป็นอย่างนั้น? ไปฟังเรื่องราวการต่อสู้ผลักดันสิทธิสมรสเท่าเทียมในเวียดนาม ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา กันได้ใน ASEAN บ่มีไกด์ ตอนล่าสุด
    .
    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    Ep.11: บุกรังแก๊งคอลเซนเตอร์อาเซียน ส่องด้านมืดสีหนุวิลล์

    Ep.11: บุกรังแก๊งคอลเซนเตอร์อาเซียน ส่องด้านมืดสีหนุวิลล์

    “คุณมีพัสดุค้างที่ยังไม่ได้รับ”

    “คุณมีใบสั่งจราจรที่ยังค้างชำระ”

    “เบอร์ของคุณกำลังถูกระงับภายใน 2 ชั่วโมง”

    นี่อาจเป็นประโยคที่คุ้นหูคนใช้โทรศัพท์มือถือหลายคนในช่วงเวลานี้หลังรับสายเบอร์แปลกๆ ที่โทรเข้ามา แม้หลายคนจะรู้เท่าทันกลโกงของ ‘แก๊งคอลเซนเตอร์’ ทั้งหลายเหล่านี้ แต่จำนวนไม่น้อยก็หลงกลจนถูกหลอกโอนเงินไปเป็นแสนเป็นล้านบาท

    การแพร่ระบาดของกลุ่มมิจฉาชีพแก๊งคอลเซนเตอร์ไม่ได้กำลังเกิดขึ้นแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นปัญหาใหญ่ของอีกหลายประเทศอาเซียน เพราะการตามล่ากวาดจับแก๊งเหล่านี้ไม่ใช่งานหมูๆ ด้วยเหตุว่ามิจฉาชีพปลายสายที่เราคุยด้วย แท้จริงแล้วไม่ได้อยู่ประเทศเดียวกับเรา แต่จำนวนไม่น้อยถูกพบที่ประเทศกัมพูชา ณ เมืองริมชายหาดนาม ‘สีหนุวิลล์’

    เพราะอะไรสีหนุวิลล์ถึงกลายเป็นแหล่งซ่องสุมของแก๊งมิจฉาชีพออนไลน์ เล่ห์ร้ายกลโกงอะไรที่กลุ่มแก๊งพวกนี้ใช้จนเป็นเหตุให้โตวันโตคืน…ASEAN บ่มีไกด์ ตอนนี้พาไปส่องมุมมืดของเมืองสีหนุวิลล์ หาคำตอบด้วยกันในเรื่องนี้  

    ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    Ep.10: มีวันนี้เพราะเฟกนิวส์และไอโอ..เมื่อมาร์กอสจ่อรีเทิร์นทำเนียบฟิลิปปินส์

    Ep.10: มีวันนี้เพราะเฟกนิวส์และไอโอ..เมื่อมาร์กอสจ่อรีเทิร์นทำเนียบฟิลิปปินส์
    ปี 1965-1986 ฟิลิปปินส์ตกอยู่ใต้การปกครองของเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส ชายผู้ขึ้นชื่อว่าเป็นทรราชบันลือโลก เวลาล่วงเลยมาถึงปี 2022 ดูเหมือนว่าฟิลิปปินส์กำลังจะได้ผู้นำที่มีนามสกุล ‘มาร์กอส’ อีกครั้ง เพราะผลโพลการเลือกตั้งใหญ่ที่จะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 9 พฤษภาคมนี ปรากฏว่าคนที่คะแนนนำโด่งขึ้นมาคือเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส จูเนียร์ หรือบงบง มาร์กอส ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของเฟอร์ดินานด์ มาร์กอส . นักวิชาการและสื่อต่างมองว่าความนิยมที่บงบง มาร์กอสได้รับอย่างท่วมท้นในวันนี้ จนอาจคว้าเก้าอี้ผู้นำได้สำเร็จ เป็นผลมาจากการลงทุนลงแรงของเขาต่อเนื่องมานานหลายปี...การลงทุนลงแรงที่ว่านั้นก็คือการลงทุนทำ ‘ปฏิบัติการไอโอ’ . ASEAN บ่มีไกด์ กลับมาอีกครั้งในปี 2022 นี้ พาไปดูปฏิบัติการไอโอของตระกูลมาร์กอส ว่าทำงานอย่างไร ปั่นเรื่องเท็จ สร้างวาทกรรม และบิดเบือนประวัติศาสตร์ในยุคมาร์กอสอย่างไร ถึงได้ช่วยให้ตระกูลมาร์กอสใกล้ถึงฝั่งฝันในการยึดทำเนียบกลับคืนอีกครั้ง . ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา

    Ep.9: “ลองทายดูสิว่ากูคือใคร!” เปิดตำหนัก เปลือยตัวตน ‘ร่างทรง’ อาเซียน

    Ep.9: “ลองทายดูสิว่ากูคือใคร!” เปิดตำหนัก เปลือยตัวตน ‘ร่างทรง’ อาเซียน
    พูดถึงหนังไทยที่เป็นกระแสโด่งดังในช่วงปีที่ผ่านมา หนึ่งในนั้นแน่นอนว่าเป็นเรื่อง ‘ร่างทรง’ ที่กวาดรางวัลมากมายและทำรายได้ถล่มทลายทั้งในไทยและต่างประเทศ และยังจุดกระแสให้คนไทยอยากรู้เรื่องราวของร่างทรงมากขึ้น . เราเห็นวัฒนธรรมทรงเจ้าเข้าผีอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านาน แต่อย่าเข้าใจผิดว่ามันมีแค่ในประเทศไทย เพราะที่จริงแล้ว ร่างทรงมีอยู่ทั่วทุกมุมโลก แน่นอนว่ารวมถึงดินแดนแห่ง ‘ศาสนาผี’ อย่างอาเซียนด้วย . ‘ASEAN บ่มีไกด์’ ในตอนนี้ ขอพาทุกคนเดินทางรอบอาเซียน ไปเปิดโลกร่างทรงทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ย้อนดูวิวัฒนาการร่างทรงท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสังคมมาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงยุคปัจจุบัน ชวนหาคำตอบว่าทำไมร่างทรงถึงสืบทอดทายาทในภูมิภาคนี้มาได้เป็นพันๆ ปี แม้จะเจอภัยคุกคามมาแล้วนักต่อนัก ผีตัวไหนกันแน่ที่อยู่เบื้องหลังร่างทรงเหล่านี้ . ดำเนินรายการโดย เบน – วงศ์พันธ์ อมรินทร์เทวา